วารสารวิจัยรำไพพรรณี
วารสารวิจัยรำไพพรรณี เป็นวารสารระดับชาติที่ผ่านการรับรองผลการประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2 (พ.ศ.2563-2567) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก นักวิจัยจากหน่วยงานภายในและภายนอกต่าง ๆ สู่สาธารณชน รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ได้นำผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ไปใช้ประโยชน์
วารสารเปิดรับบทความวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงสหวิทยาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและชุมชน โดยจัดทำเป็นวารสารราย 4 เดือน เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน) ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) และฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม) โดยบทความที่ตีพิมพ์ทุกบทความผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewed) ในสาขาวิชานั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 3 ท่าน โดยเป็นการประเมินแบบ double-blinded review ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ วารสารวิจัยรำไพพรรณี ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้นิพนธ์
ต้องเป็นบทความที่ยังไม่ได้มีการเผยแพร่ในวารสารใดหรือรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการใด ๆ มาก่อนกองบรรณาธิการจะดำเนินการพิจารณาบทความตามรูปแบบที่กำหนดเบื้องต้น หากบทความใดไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับคืนให้ผู้เขียนแก้ไข หากผ่านการพิจารณาจะเข้าสู่กระบวนการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชา เมื่อผลการประเมินผ่านหรือไม่ผ่านจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ เมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์ผู้เขียนจะได้รับหนังสือรับรองการตีพิมพ์ โดยจะให้ผู้เขียนที่เป็นชื่อแรก และสามารถดาวน์โหลดวารสารฉบับสมบูรณ์ได้ทางเว็บไซต์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา http://www.research.rbru.ac.th/journal.php และระบบ Thaijo วารสารวิจัยรำไพพรรณี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/
มาตรฐานจริยธรรมการตีพิมพ์วารสารวิจัยรำไพพรรณี
1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิจัยรำไพพรรณี เป็นบทความใหม่ที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ
2. ผู้นิพนธ์ต้องให้ข้อมูลจากการวิจัยที่ถูกต้อง ไม่บิดเบือนหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
3. ผู้นิพนธ์เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในบทความ ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น โดยจัดทำรายการอ้างอิงให้ถูกต้องครบถ้วนทั้งในเนื้อหาและท้ายบทความ
4. ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของต้นฉบับในทุกกรณี หากละเมิดลิขสิทธิ์ หรือคัดลอกผลงานผู้อื่น ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เท่านั้น มิใช่ความรับผิดชอบใด ๆ ของกองบรรณาธิการวารสารวิจัยรำไพพรรณี
5. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในวารสารวิจัยรำไพพรรณี
6. ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบรายละเอียดบทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารวิจัยรำไพพรรณีให้ถูกต้องเป็นไปตามหลักจริยธรรมสากลที่ได้รับการยอมรับ
1. บรรณาธิการจะดำเนินการตามมาตรฐานจริยธรรมและจรรยาบรรณวารสารวิชาการไทย เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพทางวิชาการของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิจัยรำไพพรรณี
2. บรรณาธิการต้องคัดเลือกบทความที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายของวารสารผ่านกระบวนการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่พิชญพิจารณ์บทความแล้วเท่านั้น
3. บรรณาธิการต้องตัดสินใจในการยอมรับหรือปฏิเสธบทความเพื่อการตีพิมพ์ด้วยเหตุผลที่สามารถอธิบายทางวิชาการได้
4. บรรณาธิการมีระบบในการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนหรือการขัดกันด้านผลประโยชน์ ของบรรณาธิการเอง รวมทั้งของเจ้าหน้าที่วารสาร ผู้นิพนธ์บทความ ผู้ประเมินบทความ และ กองบรรณาธิการ
5. บรรณาธิการต้องชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (Peer review)ให้กับผู้นิพนธ์ในกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการประเมินบทความ
6. หากเกิดขึ้นความผิดพลาดกับบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้ว หรือมีประโยคที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือมีรายงานที่บิดเบือนข้อเท็จจริง บรรณาธิการต้องแก้ไขให้ถูกต้องและชัดเจนทันที
7. บรรณาธิการต้องมีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของวารสารอย่างสม่ำเสมอ และรับรองคุณภาพของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร
8. บรรณาธิการต้องดำเนินการเผยแพร่วารสารให้ได้ตามกำหนดการตีพิมพ์ที่ระบุไว้
1. ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาประเมินคุณภาพบทความด้วยวิธีลับ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ ของบทความที่พิจารณาให้แก่บุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. ผู้ประเมินบทความควรประเมินคุณภาพของการวิเคราะห์ ความเข้มข้นของผลงาน มีข้อเสนอแนะที่สอดคล้อง และเป็นประโยชน์แก่ผู้เขียนบทความมากที่สุด
3. ผู้ประเมินบทความสามารถปฏิเสธการประเมินบทความได้ หากพบผลประโยชน์ทับซ้อน หรือ บทความไม่เป็นตามคุณภาพของหลักวิชาการ
4. ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ หากพบส่วนใดของบทความมีการคัดลอกผลงาน หรือซ้ำซ้อนในผลงานชิ้นอื่น ๆ
บทความที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ผู้เขียนต้องมีหลักฐานยืนยันว่าบทความดังกล่าวได้ผ่านการรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์แล้ว (ถ้ามี)
1) ผู้นิพนธ์ดำเนินการเขียนบทความวิจัยตามข้อกำหนดรูปแบบของวารสารวิจัยรำไพพรรณี ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีโดยบทความดังกล่าวจะต้องบทความที่ยังไม่ได้มีการเผยแพร่ในวารสารใดหรือรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการใด ๆ มาก่อน
2) ผู้นิพนธ์ส่งบทความที่สมบูรณ์ตรงตามแบบฟอร์มเป็นไฟล์นามสกุล .doc (Word) ความยาวไม่เกิน 10-12 หน้า ทางระบบ Thaijo วารสารวิจัยรำไพพรรณี https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/
ทั้งนี้สามารถติดตามรายละเอียดและดาวน์โหลดแบบฟอร์มต่าง ๆ ได้ที่ http://www.research.rbru.ac.th/journal.php สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
3) ผู้นิพนธ์ต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินการตีพิมพ์ของวารสารวิจัยรำไพพรรณี จำนวน 4,000 บาท/บทความ หลังจากบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการวารสารฯ เมื่อเข้าสู่กระบวนการประเมิน โดยชำระเพียงครั้งเดียว 4) ผู้นิพนธ์สามารถชำระค่าธรรมเนียมได้ ดังนี้โอนเงินเข้าบัญชีหมายเลข 178-1-48958-7
ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ประเภทบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (สาขาสี่แยกเขาไร่ยา)
เมื่อโอนเงินเข้าบัญชีแล้วกรุณา SCAN หลักฐานการชำระเงินและส่งไฟล์ได้ที่
อีเมลล์ research_rbru2010@hotmail.com
หรือ ID line : vijai_rbru
กองบรรณาธิการจะไม่คืนเงินในกรณีที่บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ว่ากรณีใดๆ เพราะเป็นค่าตอบแทนการพิจารณาบทความของผู้ทรงคุณวุฒิ
5) ผู้นิพนธ์จะต้องดำเนินการปรับแก้ไขบทความตามผลการตรวจประเมินของกองบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิของวารสารวิจัยรำไพพรรณี อย่างต่อเนื่องตลอดกระบวนการในการตีพิมพ์